นอนมากไปใช่ว่าจะดี! 5 อาการข้างเคียงหากคุณนอนมากเกินไป

การนอนหลับอย่างสนิทคือการพักผ่อนที่ดี และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้ร่างกายได้ทำงานอย่างเต็มที่ จึงทำให้ใครหลายคนทิ้งตัวนอนและหลับอยู่บนเตียงเป้นระยะเวลานาน แต่ความจริงแล้วนั้นการนอนที่นานไปก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี อีกทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางร่างกายด้วยว่าคุณนั้นกำลังเสี่ยงเป็นโรคต่างๆ อย่าง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือภาวะซึมเศร้าได้ ทั้งนี้ อาจอันตรายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

เช็กตัวเองแบบไหนถึงเรียกนอนมากเกินไป :  ปริมาณการนอนหลับแต่ละคน และในแต่ละช่วงเวลานั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุและพฤติกรรมในการใช้ชีวิต และด้านสุขภาพ เช่น ในช่วงที่มีความเครียดหรือเจ็บป่วย คุณอาจรู้สึกว่าต้องนอนมากขึ้นกว่าปกติ แต่หากคุณนอนมากกว่า 9 ชั่วโมงในระยะเวลา 24 ชั่วโมง รู้สึกง่วงนอนมากเกินไปในระหว่างวันและมีอาการปวดศีรษะนั่นอาจหมายถึงคุณกำลังมีอาการของการนอนหลับมากเกินไป

นอนเยอะไปอาจเป็นเพราะคุณป่วยอยู่ : ภาวะสุขภาพที่ถูกรุมเร้าจากโรคร้ายเหล่านี้สามารถนำไปสู่การนอนดึกและง่วงนอนตอนกลางวันมากเกินไป เช่น อาการซึมเศร้าและวิตกกังวล, โรคอ้วน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, อาการปวดเรื้อรัง, ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ นอกจากนี้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญ เนื่องจากร่างกายต้องการชดเชยการนอนไม่ดี

นอนเยอะไปอาจเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่าที่คุณคิด และนี่คือ 5 กระทบที่คุณมักพบเมื่อนอนไม่พอ

  • ระบบภูมิคุ้มกัน: การนอนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปนั้นส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันไม่ต่างกัน เนื่องจากการนอนที่ไม่ปกตินั้นจะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวที่เพิ่มขึ้นนั้นสลายตัวในเวลาต่อมา ผลกระทบต่อเนื่องที่ตามมาคือ ความสามารถของร่างกายในการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังผลต่อการอักเสบของร่างกายร่วมด้วย
  • น้ำหนัก: การนอนหลับส่งผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึกหิวและความอิ่ม อีกทั้งยังสามารถกระตุ้นการหลั่งอินซูลินด้วย การที่นอนหลับมากเกินไปอาจทำให้มีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ นอกจากนี้การนอนที่มากเกินไปจะทำให้ร่างกายไม่ได้เผาผลาญพลังงานที่มากพออีกด้วย
  • ปวดหลังและคอ : การนอนหลับมากกว่าปกติจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบมักจะนั่งผิดท่า พวกเขาอาจนอนในพื้นที่อื่นนอกเหนือจากเตียง
  • ปวดศีรษะ : ผู้ป่วยบางรายบ่นว่าปวดหัวหลังนอนหลับนานกว่าปกติ เนื่องจากสารสื่อประสาทบางชนิด เช่น เซโรโทนิน ถูกหลั่งออกมาเนื่องจากรูปแบบการนอนหลับอย่างต่อเนื่องมากเกินไป หรือการนอนในลักษณะงีบอยู่เรื่อยๆ ตลอดทั้งวัน
  • โรคหัวใจ : จากการวิจัยพบว่า การนอนเกินเวลานั้นเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ถึงแก่ชีวิต แม้ว่าพวกเขาจะไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดว่าการนอนมากเกินไปทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างการนอนมากขึ้นกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้นนั้นมีความเกี่ยวข้องกัน

อย่ามองข้ามปัญหาเรื่องการนอน เพราะ การนอนถือเป็นกระบวนการทำงานอย่างหนึ่งของร่างกายสำหรับปรับสภาพ และฟื้นฟูร่างกายองค์รวมให้เป็นปกติ ดังนั้นหากคุณรู้สุกว่าการนอนของคุณปตกต่างจากปกติ  ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อให้คุณมั่นใจได้ว่าสุขภาพยังคงแข็งแรงดีอยู่

ที่มา

https://www.webmd.com/sleep-disorders/physical-side-effects-oversleeping

https://amerisleep.com/blog/oversleeping-the-health-effects/

https://www.sleepadvisor.org/why-do-i-sleep-so-much/