แสงสีฟ้า อันตรายไม่ใช่แค่สายตาแต่ยังทำร้ายถึงสุขภาพ

หลายคนนั้นมีความกังวลเกี่ยวกับแสงยูวีเป็นอย่างมาก ด้วยผลเสียที่แสนอันตรายต่อทั้งสุขภาพกายภายนอกที่อาตรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังจนอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้วแสงสีฟ้าที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันนั้นมีความอันตรายไม่แพ้กัน เพราะ แสงสีฟ้านั้นมีความยาวคลื่นและพลังงานน้อยกว่าแสงยูวีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ในแต่ละวันเราได้เผชิญแสงสีฟ้าผ่านคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนนานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยตลอดเวลาเหล่านั้นดวงตาของคุณก็ได้รับแสงสีฟ้าเป็นเวลาต่อเนื่องจนอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาได้ แต่นอกจากนี้แสงสีฟ้านั้นจะมีผลอันตรายมากกว่าดวงตาอีกด้วย

แม้ว่าความเสี่ยงและผลข้างเคียงการได้รับแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน อาจไม่ได้เป็นอันตรายต่อดวงตาของคุณอย่างร้ายแรง แต่ก็มีความเสี่ยงอื่นๆ ด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้ตามมา ต่อไปนี้คือภาพรวมความเสี่ยงต่อสุขภาพของคลื่นแสงสีฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้

จอประสาทตาเสื่อม : ตามปกติแล้วอาการจอประสาทตาเสื่อมที่นั้นมักมีความเกี่ยวข้องกับอายุ โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักจะมีอาการจอประสาทตาเสื่อมจากการที่โครงสร้างด้านหลังดวงตาได้รับความเสียหายเมื่อคุณอายุมากขึ้น ซึ่งรายละเอียดและวัตถุที่อยู่ตรงกลางเส้นสายตาของคุณอาจเบลอและมองเห็นได้ยากขึ้น แต่แสงสีฟ้าอาจเพิ่มโอกาสที่ทำให้คุณมีจอประสาทตาเสื่อมเร็วมากขึ้นกว่าควรเป็น

อาการปวดตาและตาล้า : การใช้อุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตในระยะใกล้ดวงตาเป็นเวลานานๆ จะส่งผลให้ดวงตาล้าได้ง่ายกว่าปกติ เนื่องจากดวงตามักจะกะพริบตาน้อยกว่าควรเป็น จึงตาให้ตาแห้งได้ง่ายจนเกิดอาการระคายเคืองและตามมาด้วยอาการปวดหัว นอกจากนี้ แสงสีน้ำเงินนั้นสามารถกระจายได้ง่ายกว่าแสงอื่นๆ ที่มองเห็นได้ส่วนใหญ่ จึงฃทำให้ดวงตาของคุณโฟกัสได้ยากเมื่อได้รับแสงสีน้ำเงิน จนต้องหรี่ตาและทำให้กล้ามเนื้อดวงตาล้าได้

การนอนหลับ : ตามธรรมชาติแล้วระดับฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยให้ร่างกายง่วงและนอนหลับจะเริ่มสูงขึ้นในร่างกายของเราประมาณสองชั่วโมงก่อนที่เราจะหลับ และจะสูงอย่างต่อเนื่องในขณะที่นอน แต่การที่ร่างกายได้รับแสง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแสงสีฟ้าจะทำให้ร่างกายขัดขวางการผลิตเมลาโทนินตามธรรมชาติทำให้นอนหลับยากขึ้น การได้รับแสงสีฟ้าในเวลากลางคืนเพียง 2 ชั่วโมง อาจทำให้ฮอร์โมนเมลาโทนินช้าลงหรือหยุดการหลั่ง เพื่อให้การนอนของคุณดีขึ้น ควรเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ที่ปล่อยแสงสีฟ้าอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

สุขภาพผิว : มีงานวิจัยไม่น้อยเผยว่าแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ นั้นมีผลกระทบต่อผิว โดยแสงสีฟ้าทำให้ผิวเกิดความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบ, การเสื่อมสภาพของคอลลาเจน และทำให้ทำให้ผิวชั้นนอกสุดอ่อนแอลง อีกทั้งยังทำให้เกิดเม็ดสีจนทำให้ผิวกลายเป็นจุดด่างดำอีกด้วย แต่ว่าการได้รับแสงสีฟ้าในความเข้นข้นที่เหมาะสมก็สามารถช่วยในการรักษาสิวและผิวให้ฟื้นตัวได้ดี

แสงสีฟ้านั้นไม่เพียงจะมีผลกระทบต่อผู้ใหญ่เท่านั้น แม้แต่เด็กน้อยก็ส่งผลเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งดวงตาของเด็กนั้นมีความบอบบาง แสงสีฟ้าจะเพิ่มความเสี่ยงในการที่มีสายตาสั้น และปัญหาสมาธิสั้นได้ และหากเล่นในเวลากลางคืนร่วมด้วยก็ทำให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินได้ช้าไม่ต่างจากผู้ใหญ่ เพื่อปกป้องดวงตาและลดโอกาสเสี่ยงจากโรคอื่นๆ ของพวกเขา ควรจำกัดเวลาอยู่หน้าจอของลูก และให้เลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ที่ปล่อยแสงสีฟ้าอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงก่อนนอน

เทคนิคไม่ลับป้องกันตัวเองจากแสงสีฟ้า

  • ปฏิบัติตามกฎ 20-20-20 เพื่อลดอาการปวดตา โดยหยุดพักการมองอุปกรณ์ดิจิตอล 20 วินาทีเพื่อดูบางสิ่งที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต ทุกๆ 20 นาที
  • ควบคุมแสงและแสงสะท้อนบนหน้าจออุปกรณ์ และกำหนดระยะห่างและท่าทางการทำงานที่ดีสำหรับการดูหน้าจอ
  • พูดคุยกับจักษุแพทย์เกี่ยวกับการป้องกันแสงสีฟ้าและการใช้อุปกรณ์ดิจิตอลเพื่อเลือกแว่นตาหรืออปกรณ์ที่ป้องกันแสงสีฟ้าได้อย่างเหมาะสม
  • เลือกทานวิตามินรวมและแร่ธาตุเสริมโดยเฉพาะกลุ่มวิตามิน A, E, C ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันจอประสาทตาเสื่อมได้ทุกวันเพื่อปกป้องโรคที่อาจจะเกิดจากแสงสีฟ้า ความเสื่อม รวมถึงโรคตา เช่น จอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจก ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานอาหารเสริมใดๆ

https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/blue-light-has-a-dark-side

https://www.bangkokhospital.com/en/content/blue-light-harmful-to-eye

https://www.webmd.com/eye-health/blue-light-health

https://health.ucdavis.edu/blog/cultivating-health/blue-light-effects-on-your-eyes-sleep-and-health/2022/08