พักหน้า พักผิวสักหน่อยช่วยผิวแข็งแรงขึ้นได้

การพักผ่อนเพื่อเริ่มต้นการทำอะไรใหม่ๆ ถือเป็นช่วงเวลาที่หลายคนต้องการ รวมถึงผิวหน้าด้วยเช่นกัน บ่อยครั้งที่เราเคยชินกับการดูแลผิวด้วยผลิตภัณฑ์มากมายตามแบบฉบับ Skincare routine 10 ขั้นตอน แต่ในบางช่วงเวลาผิวย่อมจะต้องการการฟื้นฟู ผ่อนคลาย และดีท็อกซ์  ดังนั้นการพักผิวหรือ Skin Fasting คืออีกหนึ่งวิธีการดูแลผิวหน้าอีกรูปแบบหนึ่งเพื่อให้ได้ผิวที่กระจ่างใสและเปล่งปลั่งจากการหยุดพักการประโคมทุกอย่างไปบนผิวหน้า

การพักผิวหน้า (Skin Fasting) คืออะไร

การพักผิวหน้า (Skin Fasting) คือการหยุดพักการใช้สกินแคร์และเครื่องสำอางทั้งหลายบริเวณใบหน้า รวมถึงการทำทรีตเม้นต์ และเลซอร์ ใบหน้า  หากเปรียบเทียบจึงเป็นเหมือนอีกฝั่งหนึ่งของการดูแลผิวแบบจัดเต็มจากการดูแลผิวแบบหลากหลายขั้นตอน โดยการพักผิวหน้าจะเป็นช่วงเวลาที่ผิวหน้าได้พักการทำงานจากการกระตุ้นให้ทำงานอย่างต่อเนื่องทั้งจากสกินแคร์และเครื่องสำอางที่ใช้ในประจำวัน เปิดโอกาสให้ออกซิเจนจะถูกส่งไปที่ใบหน้าและผิว เพื่อให้มีเวลามากขึ้นในการซ่อมแซมตัวเอง และสร้างอีลาสตินและคอลลาเจนขึ้นใหม่

ทำไมต้องพักผิวหน้า?

โดยปกติแล้วผิวหน้าต้องการการหายใจ กิจกรรมในชีวิตประจำวันอย่างการแต่งหน้าด้วยเครื่องสำอาง การลงสกินแคร์ที่ส่งผลต่อผิวหน้าในทุกๆ วัน การดูแลผลัดเซลล์ด้วยยารักษาสิว การใช้ผลิตภัณฑ์คลีนซิ่งที่มีส่วนผสมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จึงเข้าไปอุดตันในรูขุมขนของผิวทำให้การหายใจของผิวจึงถูกขัดจังหวะ ส่งผลให้มีปัญหาผิวอื่นๆ ตามมาได้ ดังนั้น การพักผิวหน้าจึงเป็นการช่วยลดโอกาสการอุดตันรูขุมขน สิว จากการใช้ผลิตภัณฑ์บางอย่างมากเกินไป รวมถึงยังเป็นการปรับสมดุลผิวตามธรรมชาติให้กลับมาปราการผิวที่แข็งแรงอีกครั้ง

นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ดีในการรักษาผิวในเบื้องต้น พร้อมตรวจหาผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง สิว หรือปัญหาผิวอื่นๆ อีกด้วย โดยการค่อยๆ เลิกใช้ผลิตภัณฑ์สกินแคร์และเครื่องสำอางครั้งละหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อทดสอบว่าผลิตภัณฑ์ใดที่ส่งผลต่อกับสภาพผิวของคุณมากที่สุด

พักผิวหน้าต้องทำแบบไหนถึงจะดี?

สำหรับการพักผิวหน้าที่ดีที่สุดคือการหยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวทั้งหมด ทั้งเซรั่ม หรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมหนักต่างๆ แล้วปล่อยให้ผิวหน้าได้ปล่อยซีบั่มทำหน้าที่ตามธรรมชาติ ให้ได้ 1 สัปดาห์ในแต่ละเดือน หรือหากคุณกังวลในเรื่องของผิวหน้าที่ปราศจากการบำรุง อาจจะค่อยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ทีละชิ้นได้โดยอาจจะใช้เพียงคลีนเซอร์ และมอยส์เจอไรเซอร์ในตอนเช้าและตอนกลางคืน สัปดาห์ละครั้งหรือสองครั้ง แล้วอาจจะค่อยๆ หยุดใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวในตอนกลางคืนเพื่อให้ผิวหายใจและรักษาได้อย่างเหมาะสมตลอดทั้งคืน ก่อนล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นในเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเอาน้ำมันธรรมชาติออกจากผิว หากคุณไม่พบผลข้างเคียงใดๆ เช่น การระคายเคือง ความแห้งกร้าน และอาการคัน หลังจากพักผิวหน้าเป็นเวลาหนึ่งคืน ให้ดำเนินต่อไปอีกสองสามวัน หากผิวแห้ง ให้ทามอยส์เจอไรเซอร์ต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงความแห้งและแพ้ได้

สิ่งสำคัญคือการสังเกตผิวอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ไม่ควรมองข้ามพื้นฐานในการดูแลผิวหน้าอย่างการทำความสะอาดผิวหน้า เติมความชุ่มชื้นให้ผิว และป้องกันผิวจากแสงแดดด้วยผลิตภัณฑ์กันแดด

การทำความสะอาดและการขัดผิว : จะช่วยขจัดสิ่งสกปรกและน้ำมันที่เกิดจากสภาวะแวดล้อมในชีวิตประจำวันอย่างฝุ่น มลภาวะต่างๆ ในอากาศที่อาจจะทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ไม่ต่างกับเครื่องสำอาง การข้ามขั้นตอนนี้อาจทำให้เกิดปัญหาผิวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผิวมันและผิวเป็นสิวง่าย

เติมความชุ่มชื้นให้ผิว : สามารถทำได้ด้วยการดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อยวันละ 2 ลิตร และอาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่อ่อนโยน ปราศจากส่วนผสมที่ทำให้ผิวแพ้ หากในกรณีที่ผิวหน้าของคุณหลังจากทำการพักผิวนั้นมีความแห้งกร้านเกินไป เพื่อลดอัตราเสี่ยงการเกิด

ปกป้องผิวจากแสงแดด : ไม่ว่าจะแต่งหน้าหรือไม่แต่งหน้า ครีมกันแดดคือสิ่งสำคัญที่ช่วยปกป้องผิวคุณจากผิวไหม้แดด ริ้วรอย จุดด่างอายุ ริ้วรอยเล็กๆ การอักเสบ และปัญหาผิวอื่นๆ ที่อาจจะเกิดได้จากรังสียูวี

ข้อดีของการพักผิวหน้า

  • ช่วยให้เข้าใจสภาพผิวที่แท้จริง – เนื่องจากพักผิวหน้าจะช่วยให้ผิวทำงานตามธรรมชาติเพื่อรักษาสมดุล จึงช่วยให้เห็นว่าประเภทผิวของคุณเป็นแบบไหน การผลิตน้ำมันตามธรรมชาติมีลักษณะอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้คุณเลือกปรนนิบัติผิวได้อย่างเหมาะสม
  • ปรับปรุงการฟื้นตัวของผิว – หากผิวของคุณมีแนวโน้มที่จะอักเสบหลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหรือส่วนผสมบางอย่าง การพักผิวหน้าจะเป็นการที่ผิวได้ถูกซ่อมแซมและฟื้นฟูตามธรรมชาติ
  • แสดงปฏิกิริยาของผิว – การพักผิวหน้าจะช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าผิวของคุณตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวต่างๆ อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวจำนวนมาก การค่อยๆ ลดใช้ทีละผลิตภัณฑ์จะช่วยให้คุณสังเกตผลรับของผลิตภัณฑ์ได้ชัดเจนมากขึ้นว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ ส่งผลต่อผิวจริงหรือไม่

ที่มา

https://www.vogue.in/beauty/content/skin-care-tips-what-is-skin-fasting-chemical-products-harmful

https://www.allure.com/story/what-is-skin-fasting

https://www.wellandgood.com/skincare-break/

https://www.byrdie.com/skin-fasting-5192743

https://timesofindia.indiatimes.com/life-style/beauty/should-you-try-skin-fasting/articleshow/79778396.cms